อบรมเชิงปฏิบัติการ “โปรแกรมสร้างสุขวัยทำงานในสถานประกอบการ”
ในวันที่ 26 เมษายน 2565 คณะทำงานโครงการ SHAP ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ “โปรแกรมสร้างสุขวัยทำงานในสถานประกอบการ” ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SHAP)ให้กับ โรงแรม เดอ ปริ้นเซส อุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้วัยทำงาน ปรับตัวได้ ใจเป็นสุข สนุกไม่เครียด เป็นการเสริมสร้างให้ผู้บริหาร และพนักงาน สามารถปรับตัวได้กับภาวะที่มีผลกระทบกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน การอบรมในครั้งนี้ ได้นำหลักการ Happy 8 หรือความสุข 8 ประการ โดยเน้นการมีสุขภาพจิตที่ดี ฝึกมองโลกในแง่ดี ปรับเปลี่ยนความคิด เปิดใจกว้าง ก้าวผ่านอคติ สร้างกำลังใจดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความสุข ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตได้อย่างมีคุณภาพ ในครั้งนี้มีผู้บริหารและพนักงาน เข้าร่วมกิจกรรมฯ จำนวน 33 คน โดย ศูนย์ฯ ได้เชิญวิทยากร จาก ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8 อุดรธานีซึ่งเป็นหน่วยงานเครือข่ายมาให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำในครั้งนี้
26 เม.ย. 2565
คณะทำงานโครงการ SHAP ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย Happy Workplace ในองค์กร”
วันที่ 22 เมษายน 2565 คณะทำงานโครงการ SHAP ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย Happy Workplace ในองค์กร” ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้กับ บริษัท 3ดี เฮ้าส์ คอนสตรัคชั่น จำกัด อ.เมือง จ.เลย เพื่อให้ผู้บริหาร และพนักงาน ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรบุคคล ที่มีค่าขององค์กร การอบรมในครั้งนี้ ได้นำหลักการ Happy 8 หรือความสุข 8 ประการ มาใช้ประยุกต์ในการดำเนินชีวิตให้มีความสุข สร้างทัศนคติเชิงบวกในการดำเนินชีวิต การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และการรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยมีผู้บริหารและพนักงาน เข้าร่วมกิจกรรมฯ จำนวน 22 คน วิทยากรให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำโดย นายวินัยศักดิ์ เหมืองทอง
22 เม.ย. 2565
คณะทำงานโครงการ SHAP ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย Happy Workplace ในองค์กร”
วันที่ 22 เมษายน 2565 คณะทำงานโครงการ SHAP ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย Happy Workplace ในองค์กร” ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้กับ บริษัท 3ดี เฮ้าส์ คอนสตรัคชั่น จำกัด อ.เมือง จ.เลย เพื่อให้ผู้บริหาร และพนักงาน ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรบุคคล ที่มีค่าขององค์กร การอบรมในครั้งนี้ ได้นำหลักการ Happy 8 หรือความสุข 8 ประการ มาใช้ประยุกต์ในการดำเนินชีวิตให้มีความสุข สร้างทัศนคติเชิงบวกในการดำเนินชีวิต การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และการรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยมีผู้บริหารและพนักงาน เข้าร่วมกิจกรรมฯ จำนวน 22 คน วิทยากรให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำโดย นายวินัยศักดิ์ เหมืองทอง
22 เม.ย. 2565
การอบรมเชิงปฎิบัติการ หลักสูตร "การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ และยกระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ด้วยเครือข่ายผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (SP@N)"
วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน 2565 นายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 มอบหมายให้ นายอุเทน โชติชัย ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฎิบัติการ หลักสูตร "การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ และยกระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ด้วยเครือข่ายผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (SP@N)" ณ ห้องดุสิต 2 โรงแรมนภาลัย ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยมีนางสาวนุชนาถ ขุมเพชร นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ เป็นผู้กล่าวรายงาน และนายดนัย ปานเจริญ นักวิชาการอุตสาหกรรม ดำเนินกิจกรรมการฝึกอบรมฯ วิทยากร โดย นายสุพิศิษฐ์ นามวงษา นักวินิจฉัยระดับวิชาชีพ ได้บรรยายให้ความรู้ด้านการกำหนดกลยุทธ์ นโยบายและแผนงาน โดยระดมสมอง เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการให้บริการวิสาหกิจ รวมถึงให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าไป ในสถานประกอบการ เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำและให้บริการข้อมูลซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการและเป็นการ สร้างเครือข่ายผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (SP@N) ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการให้บริการ ร่วมกันในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรดังกล่าว จำนวน 15 คน ทั้งนี้ในระหว่างการอบรมได้มีการควบคุมการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) และยึดตามมาตรการ การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด ซึ่งผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 15 คน ให้ความร่วมมือและมีความสนใจเป็นอย่างดียิ่ง
22 เม.ย. 2565
การอบรมเชิงปฎิบัติการ หลักสูตร "การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ และยกระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ด้วยเครือข่ายผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (SP@N)"
วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน 2565 นายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 มอบหมายให้ นายอุเทน โชติชัย ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฎิบัติการ หลักสูตร "การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ และยกระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ด้วยเครือข่ายผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (SP@N)" ณ ห้องดุสิต 2 โรงแรมนภาลัย ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยมีนางสาวนุชนาถ ขุมเพชร นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ เป็นผู้กล่าวรายงาน และนายดนัย ปานเจริญ นักวิชาการอุตสาหกรรม ดำเนินกิจกรรมการฝึกอบรมฯ วิทยากร โดย นายสุพิศิษฐ์ นามวงษา นักวินิจฉัยระดับวิชาชีพ ได้บรรยายให้ความรู้ด้านการกำหนดกลยุทธ์ นโยบายและแผนงาน โดยระดมสมอง เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการให้บริการวิสาหกิจ รวมถึงให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าไป ในสถานประกอบการ เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำและให้บริการข้อมูลซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการและเป็นการ สร้างเครือข่ายผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (SP@N) ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการให้บริการ ร่วมกันในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรดังกล่าว จำนวน 15 คน ทั้งนี้ในระหว่างการอบรมได้มีการควบคุมการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) และยึดตามมาตรการ การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด ซึ่งผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 15 คน ให้ความร่วมมือและมีความสนใจเป็นอย่างดียิ่ง
22 เม.ย. 2565
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย Happy Workplace ในองค์กร”
วันที่ 22 เมษายน 2565 คณะทำงานโครงการ SHAP ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย Happy Workplace ในองค์กร” ภายใต้โครงการส่งเสริม สุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้กับ บริษัท 3ดี เฮ้าส์ คอนสตรัคชั่น จำกัด อ.เมือง จ.เลย เพื่อให้ผู้บริหาร และพนักงาน ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรบุคคล ที่มีค่า ขององค์กร การอบรมในครั้งนี้ ได้นำหลักการ Happy 8 หรือความสุข 8 ประการ มาใช้ประยุกต์ในการดำเนินชีวิต ให้มีความสุข สร้างทัศนคติเชิงบวกในการดำเนินชีวิต การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และการรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยมีผู้บริหารและพนักงาน เข้าร่วมกิจกรรมฯ จำนวน 22 คน วิทยากรให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำโดย นายวินัยศักดิ์ เหมืองทอง
22 เม.ย. 2565
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “Lean Automation สู่การเพิ่มมูลค่าด้วยระบบอัตโนมัติ”
จังหวัดอุดรธานี วันที่ 12 มกราคม 2564 “พัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมด้วยองค์ความรู้ Lean Automation”????????‍???? ????กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “Lean Automation สู่การเพิ่มมูลค่าด้วยระบบอัตโนมัติ” ภายใต้โครงการ 17.1-1 การปฏิรูปอุตสาหกรรมศักยภาพสู่อุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่า ประจำปีงบประมาณ 2564 ระหว่างวันที่ 12-13 มกราคม 2564 ณ ห้องมุขมนตรี โรงแรมเจริญโฮเต็ล อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ⛳️ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 (นายติณห์ เจริญใจ) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด กล่าวรายงานโดยนางลำดวน นามมัน ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ทั้งนี้มีผู้แทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ผู้แทนสำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุดรธานี ผู้แทนหอการค้าจังหวัดอุดรธานี ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด ????ในการจัดฝึกอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจในการนำระบบ Lean Automation มาประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการ และเพื่อพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมให้สามารถนำระบบ Lean Automation มาประยุกต์ปรับปรุงและเพิ่มผลิตภาพในกระบวนการผลิต โดยทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญบรรยายและฝึกปฏิบัติ ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้✅Lean Automation เพื่อการเพิ่มผลิตภาพ✅3 Stage Rocket (VisualizeMachine/Craftmanship/LASI)✅i-Meter เพื่อการควบคุมพลังงานไฟฟ้า✅Toyota Production System (TPS)✅Lean manufacturing✅แบ่งกลุ่มภาคปฏิบัติตาม Case Study ที่ได้รับ✅Pokayoke/Andon/Pickling Lamp ✅Big Data,AI, Mobile App. for OEE Measuring ✅IoT,Kaizen,Karakuri Kaizen✅TPM✅แบ่งกลุ่มภาคปฏิบัติตาม Case Study ที่ได้รับ ✅วิเคราะห์และให้คำแนะนำแนวทางการปรับปรุงของแต่ละกิจการ????ทั้งนี้ มีผู้สนใจตอบรับและเข้าร่วมฝึกอบรมจำนวน 30 คน
14 ม.ค. 2564
กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "กิจกรรมสร้างความเข้าใจและจัดทำแผนงานกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพรแปรรูป และสปา" ???? ????ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายคลัสเตอร์เกษตรอุตสาหกรรม พื้นที่จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดใกล้เคียง ปีงบประมาณ 2564
ปั้นเศรษฐกิจฐานราก ส่งอุดรธานีสู่เมืองสมุนไพร ศภ.4 กสอ. เร่งจัดกิจกรรมพัฒนาจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดใกล้เคียง สู่การรวมกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพรแปรรูปและสปา วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 นายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ให้เกียรติเป็นประธานเปิด กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "กิจกรรมสร้างความเข้าใจและจัดทำแผนงานกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพรแปรรูป และสปา" ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายคลัสเตอร์เกษตรอุตสาหกรรม พื้นที่จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดใกล้เคียง ปีงบประมาณ 2564 โดยกิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 23 -25 ธันวาคม 2563 ณ ห้องมุขมนตรี โรงแรมเจริญโฮเต็ล อ.เมือง จ.อุดรธานี วัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนาการรวมกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม ประกอบด้วยวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมผู้ผลิตสมุนไพร ผู้แปรรูปสมุนไพร ธุรกิจสปาที่มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูป เครื่องสำอางจากสมุนไพร และเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรที่มีการแปรรูปจากสมุนไพรในท้องถิ่น ตลอดจนอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Value Chain) เพื่อก่อให้เกิดความเชื่อมโยงเครือข่าย สร้างพันธมิตรทางธุรกิจ และก่อให้เกิดความร่วมมือพัฒนาด้านต่างๆ ต่อไปตลอดจนต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรมร่วมกันในที่สุด โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 20 กิจการ /33 คน ทั้งนี้ในพิธีเปิด ได้รับเกียรติจากผู้แทนหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม ดังนี้ นางสาวรติยา อินทเกษ เภสัชกรชำนาญการ และนายเอกรัฐ เหาะเหิน เภสัชกรชำนาญการ ผู้แทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี นางพัชรียา พลับแก้ว และนางสุกัญญา อุดมกรสิทธิกุล ผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี วันที่ 23 ธันวาคม 2563 หัวข้อการบรรยาย 1. ทิศทางการเดินหน้าเพื่อไปต่อสู่อุดรธานีเมืองสมุนไพร 2. มาตรฐานที่สำคัญต่อการยกระดับสถานประกอบการ 3. เครื่องจักรโรงงานต้นแบบเกษตรแปรรูป(Pilot Plant ITC4.0) 4. การปฏิบัติการ(Workshop)การสกัดน้ำมันหอมระเหยด้วยเครื่องไมโครเวฟ โดยมีวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญชาญด้านวิศวกรรมและการแปรรูป มาตรฐานอุตสาหกรรม ได้แก่ 1. นายศรันย์วิทย์ พวงศรี 2. ดร.จินดามณี นิสยันต์ 3. นายจีรศักดิ์ จารุพงศ์ ผู้ดูแลและรับผิดชอบโครงการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรมศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 เจ้าหน้าที่ร่วม นางลำดวน นามมัน ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ นางรัตนี ประเสริฐ ตำแหน่ง นักเทคนิคอุตสาหกรรม ส.3 นางสาวภัคนิจ สรณารักษ์ ตำแหน่ง นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ปฏิบัติการ นางสาวพรรณิการ์ บัวงาม นักวิชาการอุตสาหกรรม(ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์) นางสาวกนิษฐา เผ่าผา ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพัฒนาอุตสาหกรรมด้านส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน และเจ้าหน้าที่ ศภ.4 กสอ. ตลอดระยะเวลาการจัดกิจกรรมมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) อย่างเคร่งครัด #diprom2021 #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่4 #ศภ4กสอ #คลัสเตอร์สมุนไพรแปรรูปและสปา #อุดรธานีสู่เมืองสมุนไพร
24 ธ.ค. 2563
กิจกรรมฝึกอบรมพัฒนาทักษะการผลิต หลักสูตร "เทคนิคการสร้างกี่กระตุก" ภายใต้โครงการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน (พระราชดำริ) ปีงบประมาณ 2564
วันที่ 21 ธันวาคม 2563 นายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมดังกล่าว โดยมีนางบุบผา รักสัตย์ ช่างเย็บสานทอและประดิษฐ์ ช.2 เป็นผู้กล่าวรายงาน และเจ้าหน้าที่นางสาวศิรินารถ สิทธิ์ทอง นักวิชาการอุตสาหกรรม นางสาวบุศกร ศักดิ์ดีศรี จนท.ปฏิบัติงานพัฒนาอุตสาหกรรมฯ และนายสุพี ภูนาใบ พนักงานขับรถ ส.2 โดยมีอาจารย์เสงี่ยม พงศ์ธไนศวรรย์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ในครั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ให้แก่ราษฎร โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนา เพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านเทคนิคการสร้างกี่กระตุก สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพและนำไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการทอผ้าที่มีประสิทธิภาพในโอกาสต่อไป ดำเนินกิจกรรมระหว่างวันที่ 21-25 ธันวาคม 2563 ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในพระราชดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรม จำนวน 10 ท่าน #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่4#กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม#DIProm
21 ธ.ค. 2563
ลงพื้นที่ให้บริการข้อมูลธุรกิจและให้คำปรึกษาเบื้องต้น (SSRC) ในพื้นที่จังหวัดเลยและจังหวัดหนองบัวลำภู
วันที่ 16 - 18 ธันวาคม 2563ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 มอบหมายให้นางอำนวย เขื่อนสันเทียะ ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษผู้อำนวยการกลุ่มงานบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการนางสาวนุชนารถ ขุมเพชร นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการนายณัฐพล ตั้งเตชิตสวัสดิ์ นักวิชาการอุตสาหกรรม (ด้านคอมพิวเตอร์)นางสาวปัทมา มุกดาม่วง นักวิชาการอุตสาหกรรม และ นายสุพี ภูนาใบ พนักงานขับรถยนต์ลงพื้นที่ให้บริการข้อมูลธุรกิจและให้คำปรึกษาเบื้องต้น (SSRC) ในพื้นที่จังหวัดเลยและจังหวัดหนองบัวลำภู มีหน่วยงานเครือข่าย RISMEP และ SSRC ร่วมลงพื้นที่ให้คำปรึกษาได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (สาขาบ้านธาตุ)สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว) จังหวัดเลยซึ่งได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือเป็นอย่างดี
18 ธ.ค. 2563