ประชาสัมพันธ์ เชิญชวน และคัดเลือกชุมชนเป้าหมายเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชน ในการยกระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (CIV)
วันที่ 25 - 27 พฤศจิกายน 2563ประชาสัมพันธ์ เชิญชวน และคัดเลือกชุมชนเป้าหมายเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนในการยกระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (CIV)นายพงษ์ศักดิ์ พูนะกูล ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน และคณะเจ้าหน้าที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 นายติณห์ เจริญใจลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์ เชิญชวน และคัดเลือกชุมชนเป้าหมายเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนในการยกระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน(Creative Industry Village : CIV)ณ พื้นที่จังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ ดังมีรายนามชุมชนต่อไปนี้1. บ้านปะโค อ.เมือง จ.หนองคาย2. บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย3. บ้านจอมแจ้ง อ.เมือง จ.หนองคาย4. บ้านห้วยเล็บมือ อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ5. บ้านสะง้อ อ.เมือง จ.บึงกาฬโดยโครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน พร้อมทั้งการนำอัตลักษณ์วิถีชุมชน และวัฒนธรรม มาประยุกต์สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่การบริการและผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ทั้งนี้ ผู้ประกอบการชุมชน มีความพร้อมและยินดีเข้าร่วมโครงการฯ ต่อไป
27 พ.ย. 2563
เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร ”การวิเคราะห์และการระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดโจทย์ของผู้บริหาร (Data Design and Design Thinking for Excutive)"
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2563นายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4มอบหมายให้ นางลำดวน นามมัน ผกธ.ศภ.4 กสอ. เป็นผู้แทนเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร ”การวิเคราะห์และการระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดโจทย์ของผู้บริหาร(Data Design and Design Thinking for Excutive)”ณ ห้องรองเมือง ชั้น 4 โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ ถ.รองเมือง กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดโจทย์สำหรับการพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Design Thiking : Canvas Modelโดยมีนายเกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ ผู้แทนจากศูนย์สารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดอบรมในครั้งนี้โดยได้รับเกียรติจาก ดร. ปริสุทธิ์ จิตต์ภัคดี ตำแหน่ง Sinior Data Scientistจากสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลภาครัฐ (GBDi)หน่วยงานภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมการอบรมประกอบด้วยคณะผู้บริหารในหน่วยงานกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จำนวน 35 คน
27 พ.ย. 2563
ประชาสัมพันธ์โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการสู่การเป็นสมาร์ท SME และโกลบอล SME
วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2563นายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4ได้มอบหมายให้ นางสาวอำนวย เขื่อนสันเทียะ ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เข้าสำรวจเก็บข้อมูลผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและพื้นที่จังหวัดหนองคาย พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์โครงการฯ เชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย หรือผู้ที่มีคุณสมบัติเข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการสู่การเป็นสมาร์ท SME และโกลบอล SMEระหว่างวันที่ 3 มีนาคม - 20 พฤษภาคม 2564โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม- ครั้งที่ 1 หลักสูตร #การบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (logistic and supply chain manegement) ระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2564 พื้นที่จังหวัดอุดรธานี- ครั้งที่ 2 หลักสูตร #step by step นำเข้า-ส่งออก (import-export) ระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2564 พื้นที่จังหวัดหนองคายโดยเข้าพบผู้ประกอบการ ดังนี้1. แม่อารักษ์ อ.สังคม จ.หนองคาย2. ไร่ฉัตรดนัย อ.นายูง จ.อุดรธานี3. แหล่งเรียนรู้สวนมะพร้าวครบวงจร จ.หนองคาย4. ฝ้ายเดอของ (ชุมชนบ้านเดื่อ) จ.หนองคายผู้ประกอบการได้ให้การต้อนรับ ให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ และสนใจเข้าร่วมโครงการต่างๆของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ต่อไป
27 พ.ย. 2563
“ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนเข้าอบรม คพอ. 374 อุดรธานี และ Logistic and supply chain ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 “ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนเข้าอบรม คพอ. 374 อุดรธานี และLogistic and supply chain ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564นายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4มอบหมายให้ นางสาวอำนวย เขื่อนสันเทียะ ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการนางประภาพร อุณชาติ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ และนางสาวฐิติมา วรดง นักวิชาการอุตสาหกรรมเจ้าหน้าที่กลุ่มผู้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ เชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ ดังนี้1. ประชาสัมพันธ์โครงการฯ เชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย หรือผู้ที่มีคุณสมบัติเข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "พัฒนาผู้ประกอบการสู่การเป็นสมาร์ท SME และโกลบอล SME" (คพอ.374) ระหว่างวันที่ 3 มีนาคม - 20 พฤษภาคม 25642. ประชาสัมพันธ์โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม - ครั้งที่ 1 หลักสูตร #การบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (logistic and supply chain manegement) ระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2564 พื้นที่จังหวัดอุดรธานี - ครั้งที่ 2 หลักสูตร #step by step นำเข้า-ส่งออก (import-export) ระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2564 พื้นที่จังหวัดหนองคายณ สถานประกอบการ1. นางกาญจนา ลากุล เจ้าของสถานประกอบการ นโม ฟาร์ม ต.ทุ่งใหญ่ อ.ทุ่งฝน จ.อุดรธานี2. นายกีรติ ลุนสายยา เจ้าของสถานประกอบการ หจก.ทวีทรัพย์สหยนต์ ต.กุดสระ อ.เมือง จ.อุดรธานี3. นายจักรินทร์ โพธิ์พรม วิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองสานน้ำโขง ต.บ้านโคก อ.สร้างคอม จ.อุดรธานีทั้งนี้ ผู้ประกอบการให้ความสนใจและยินดีเข้าร่วมโครงการกับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ทั้ง 2 โครงการ
26 พ.ย. 2563
เข้าร่วมประชุมหารือความร่วมมือในการพัฒนาจังหวัดอุดรธานีให้เป็นเมืองอัจฉริยะ
เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรานี ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี อาคาร 1 ชั้น 2นายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 มอบหมายให้นางลำดวน นามมัน ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมหารือความร่วมมือในการพัฒนาจังหวัดอุดรธานีให้เป็นเมืองอัจฉริยะโดยมีนายจำรัส กังน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ให้เกียรติเป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมในการนี้ เพื่อหารือความร่วมมือในการพัฒนาจังหวัดอุดรธานีให้เป็นเมืองอัจฉริยะ และพิจารณาร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคอย่างยั่งยืนระหว่างจังหวัดอุดรธานี กับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa)
26 พ.ย. 2563
ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ร่วมใจร้องเพลงชาติและสวดมนต์ไหว้พระ
วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563 เวลา 08.00น.นายสมชัย เผ่าผา ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ร่วมใจร้องเพลงชาติและสวดมนต์ไหว้พระด้วยสำนึกในความเสียสละของบรรพบุรุษไทยณ หน้าตึกอำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4
24 ส.ค 2563
กิจกรรมการปรึกษาแนะนำการยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ด้วยการ จัดทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์ เรื่อง "การพัฒนาผลิตภัณฑ์/ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์จาก ผ้าทอพื้นเมือง"
วันที่ 18-21 สิงหาคม 2563กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4นำโดย นายเอเชีย นามพิทักษ์ ตำแหน่ง นายช่างเทคนิคชำนาญงานและคณะเจ้าหน้าที่ฯ ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4ลงพื้นที่ ดำเนินกิจกรรมการปรึกษาแนะนำการยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ด้วยการจัดทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์ เรื่อง "การพัฒนาผลิตภัณฑ์/ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นเมือง" ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ณ สถานประกอบการ ดังนี้1) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านหนองบัวเงิน ต.ปางกู่ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภูระหว่างวันที่ 18 – 19 สิงหาคม 25632) กลุ่มทอผ้าไทเลยบ้านก้างปลา ต.ชัยพฤกษ์ อ.เมือง จ.เลย ระหว่างวันที่ 20 – 21 สิงหาคม 2563เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ OTOP อุตสาหกรรมชุมชนที่ผ่านการพัฒนาด้านมาตรฐานการผลิตได้ต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ ให้มีอัตลักษณ์สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งนี้ นายชาญชัย คันทะศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท 962 สตาร์ทอัพ มี จำกัด ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการดำเนินกิจกรรมฯ ให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และลุล่วงไปได้ด้วยดี
21 ส.ค 2563
ส่งมอบต้นแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้แก่วิสาหกิจ เพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจ
วันที่ 19 - 21 สิงหาคม 2563ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งมอบต้นแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้แก่วิสาหกิจ เพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจนำโดยนายประยุกต์ บุญเยี่ยม ตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนนางสาวศิรินารถ สิทธิ์ทอง ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรมนางสาวบุศกร ศักดิ์ดีศรี ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพัฒนาอุตสาหกรรมฯนายสาน เรืองเดช ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4ไปส่งมอบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบที่ผ่านการพัฒนา พร้อมติดตามผลการดำเนินงานโครงการการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ภายใต้อัตลักษณ์จังหวัด กิจกรรมจ้างที่ปรึกษาให้คำปรึกษาแนะนำการเพิ่มมูลค่าและสร้างผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ต้นแบบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวภายใต้อัตลักษณ์จังหวัด (3 Man-Day)ประจำปีงบประมาณ 2563 ณ พื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดเลยและจังหวัดอุดรธานีจำนวน 14 กิจการ ทั้งนี้ วิสาหกิจมีความพึงพอใจในผลการให้คำปรึกษาแนะนำเป็นอย่างยิ่งและสามารถนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบไปใช้ในการต่อยอดธุรกิจต่อไปได้
21 ส.ค 2563
ร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และ สร้างเครือข่ายคลัสเตอร์ ในหัวข้อ “คลัสเตอร์ดีพร้อม (Cluster DIProm)”
วันที่ 20-21 สิงหาคม พ.ศ. 2563 นายสมชัย เผ่าผา ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 มอบหมายให้ นางประภาพร อุณชาติ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการนางสาวภัคนิจ สรณารักษ์ นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ปฏิบัติการและนายสุพี ภูนาใบ พนักงานขับรถยนต์ราชการ เดินทางไปร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และ สร้างเครือข่ายคลัสเตอร์ ในหัวข้อ “คลัสเตอร์ดีพร้อม (Cluster DIProm)” จัดขึ้นโดย กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม ณ ห้องประชุมซีแมน โรงแรมซีแมน รีสอร์ท อ.ชะอำ จ.เพชรบุรีมี นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นประธานเปิดการสัมมนาฯ โดยตลอดการสัมมนานั้น นางประภาพร อุณชาติ และนางสาวภัคนิจ สรณารักษ์ นอกจากจะได้เข้ารับฟังเสวนา และ เล่าประสบการณ์จากวิทยากรในงานแล้ว ยังได้ร่วมทำกิจกรรม Workshop ร่วมสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนาคลัสเตอร์ และกิจกรรมWalk Rally ตลอดจน ร่วมทำกิจกรรม Lesson Learnedกับพี่น้องชาวคลัสเตอร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์ในปีต่อไปอีกด้วย
21 ส.ค 2563
นายสมชัย เผ่าผา ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ร่วมเสวนา ธุรกิจส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุดรธานี จัดเวทีเสวนาเรื่องธุรกิจส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม CSR ตามโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจจังหวัดอุดรธานีวันที่ 18 สิงหาคม 2563 เวลา 10.00-12.00 น. ณ ห้องประชุม โรงแรมการินจังหวัดอุดรธานีนายสมชัย เผ่าผา ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ร่วมเสวนา ธุรกิจส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ดำเนินรายการ โดย นายทรงกฤษณ์ มีพันลมหัวหน้ากลุ่มงานนโยบายและวิชาการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุดรธานี ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ดร.ภีมกร โดมมงคล รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี นายธนากร เปรมประสพโชค ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ภาค 10นายภาคภูมิ จูนพรักษ์ ผู้แทนหอการค้าจังหวัดอุดรธานี กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมเสวนาเป็นบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนระดับหัวหน้างาน พนักงาน ตัวแทนจากบริษัท องค์กร สมาคมและผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน จำนวน 100 คน ในการเสวนาเป็นการให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการให้บริการด้าน CSR ของหน่วยงานผู้เสวนาที่มีต่อชุมชนและสังคมเพื่อสร้างความตระหนักด้าน CSR ให้ผู้ร่วมสัมมนานำไปปรับใช้กับองค์กรและชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งและความมั่นคงทางสังคมให้อยู่เคียงคู่กับองค์กรธุรกิจอย่างมีความสุขตลอดไป
20 ส.ค 2563